ReadyPlanet.com
dot
dot
ค้นหาสินค้า

dot
dot
สินค้าแยกตามผู้ผลิต
dot
dot
แนะนำสินค้าใหม่
dot
bulletกรวยน้ำดื่ม
bulletเครื่องขัดไทย
bulletSiamUnited Rubber
bulletสเปรย์ปรับอากาศ




วิธีการซักผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดภายในโรงพยาบาล อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อสู่ผู้ป่วย

 

บทความและข่าวสาร

วิธีการซักผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดภายในโรงพยาบาล

อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียสู่ผู้ป่วย

เชื้อแบคทีเรียยังคงอยู่ในผ้าขนหนูที่ใช้ในการทำความสะอาดห้องพักในโรงพยาบาล แม้หลังจากการซักทำความสะอาดแล้ว ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าผ้าขนหนูลดประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในโรงพยาบาลลง

Healthcare_002_L.jpg จากผลการศึกษาล่าสุดซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร American Journal of Infection Control พบว่า 93% ของตัวอย่างผ้าเช็ดทำความสะอาดห้องพักในโรงพยาบาลที่นำมาซักและใช้ใหม่ที่นำมาทดสอบนั้น มีเชื้อแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ผู้ป่วยได้รับในระหว่างรับการรักษาโรคอื่นๆอยู่ (Healthcare Associated Infection; HAIs) หลายคนอาจไม่คาดคิดว่าการมาโรงพยาบาลจะทำให้ป่วยได้ แต่ HAIs เป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญเป็นอย่างมาก ด้วยจำนวนผู้ป่วยจากอาการดัง

กล่าวประมาณ1.7ล้านรายต่อปีที่พบในสหรัฐอเมริกาแม้ว่าทางโรงพยาบาลจะมีวิธีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคที่เข้มงวดเพื่อ ป้องกันการติดเชื้อที่ผู้ป่วยได้รับในระหว่างรับการรักษาโรค หากแต่ผลการศึกษาพบว่าหลายคนอาจไม่คาดคิดว่าการมาโรงพยาบาลจะทำให้ป่วยได้ แต่ HAIs เป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญเป็นอย่างมาก ด้วยจำนวนผู้ป่วยจากอาการดังกล่าวประมาณ1.7ล้านรายต่อปีที่พบในสหรัฐอเมริกา แม้ว่าทางโรงพยาบาลจะมีวิธีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ผู้ป่วยได้รับในระหว่างรับการรักษาโรค หากแต่ผลการศึกษาพบว่า วิธีการทความสะอาดแบบดั้งเดิมของโรงพยาบาลนั้น ไม่เพียงพอที่จะกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่มีชีวิตออกจากผ้าเช็ดทำความสะอาดได้ จากการวิจัย "การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จากผ้าเช็ดทำความสะอาดในโรงพยาบาลที่นำมาใช้ซ้ำ (Microbial contamination of hospital reusable cleaning towels)"โดย Charles Gerba ศาสตราจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยามหาวิทยาลัยแอริโซนา และเพื่อนร่วมงานจากมหาวิทยาลัยแอริโซนา ด้วยการสนับสนุนจากคิมเบอร์ลี-คล๊าคพบว่า

  • วิธีการทำความสะอาดโดยการซักอบรีดนั้น ไม่เพียงพอที่จะกำจัดแบคทีเรียที่เป็นอันตรายที่อาจพบได้ในผ้าที่นำมาใช้ซ้ำและผ้าไมโครไฟเบอร์ที่มักใช้ในการทำความสะอาดห้องพักในโรงพยาบาล
  • 93% จากจำนวนผ้าเช็ดทำความสะอาดที่ใช้เป็นตัวอย่างในการทดสอบทั้งหมด พบว่ามีเชื้อแบคที่เรียที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ เชื้อ E. coli (ก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ) เชื้อโคลิฟอร์ม (แบคทีเรียที่เป็นตัวบ่งชี้ของเชื้ออันเกี่ยวกับอุจจาระ) และ Klebsiella (สาเหตุของโรคปอดบวม UTIs และการติดเชื้ออื่นๆ)
  • 67% ของถังใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทั้งหมด มีแบคทีเรียที่มีชีวิต รวมถึงแบคทีเรียที่สร้างสปอร์ (ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษและบาดทะยัก) และเชื้อโคลิฟอร์ม

Infographic-original_web.jpg

จากการวิจัยอีกฉบับหนึ่ง "ประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงของน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่วางจำหน่ายทั่วไป ซึ่งมีสารประกอบประเภท Quaternary Ammonium Compounds (QACs) เป็นส่วนผสม เมื่อสัมผัสกับผ้าฝ้าย (Decreased activity of commercially available disinfectants containing quaternary ammonium compounds (QACs) when exposed to cotton towels)"ซึ่งจัดทำโดยทีมงานพบว่ามีผลการศึกษาในแนวทางเดียวกัน กล่าวคือ ผ้าเช็ดทำความสะอาดทำจากผ้าฝ้ายที่นำกลับมาใช้ใหม่นั้นทำให้ความเข้มข้นของน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ใช้ในโรงพยาบาล (QACs) มีประสิทธิภาพลดลงถึง 85.3%

การทบทวนขั้นตอนที่สำคัญ

วิธีการทำความสะอาดที่เหมาะสมในโรงพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการลดการแพร่กระจายของแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิด HAIs และมีความสำคัญอย่างยิ่งในสถานพยาบาลที่ผู้ป่วยซึ่งมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆได้

การกำจัดเชื้อโรคที่ได้ผลจะต้องประกอบด้วย2องค์ประกอบที่สำคัญ อันได้แก่ การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีความเข้มข้นที่เหมาะสมและวิธีการทำให้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคสัมผัสพื้นผิว โดยทั่วไปแล้ว พนักงานทำความสะอาดจะนำผ้าเช็ดทำความสะอาดจุ่มในน้ำยาฆ่าเชื้อ (QAC หรือ สารฟอกขาว) จนกว่าจะนำไปใช้งาน และทำการบิดผ้าให้หมาดก่อนนำไปใช้ทำความสะอาดพื้นผิวภายในห้องพักผู้ป่วย หลังจากนั้น ผ้าเช็ดทำความสะอาดจะถูกนำไปซักล้างภายในสถานพยาบาลหรือพื้นที่ส่วนกลางที่ใช้สำหรับการซักล้างโดยเฉพาะ โดยผ้าเช็ดทำความสะอาดที่ผ่านกระบวนการซักอบรีดแล้วจะถูกเก็บและนำไปใช้ในกระบวนการเดิมซ้ำอีกครั้ง

จากการศึกษาในเบื้องต้นพบว่า เมื่อผ้าเช็ดทำความสะอาดสัมผัสกับน้ำยาฆ่าเชื้อโรคภายในระยะเวลาสั้นๆ เช่น 30 วินาที จะส่งผลให้สารทำความสะอาดไม่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency) กำหนดไว้ ทั้งนี้ ยังพบว่าผ้าไมโครไฟเบอร์มีแบคทีเรียในระดับสูงเนื่องจากการมีความสามารถในการดูดซับของเหลวได้ดี จากงานศึกษาก่อนหน้านี้ในเรื่องเชื้อจุลินทรีย์ในผ้าเช็ดทำความสะอาดยังชี้ให้เห็นว่า Healthcare_027_L.jpg

ยิ่งผ้าเช็ดทำความสะอาดมีความสามารถในการดูดซับได้ดีมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตอาศัยอยู่ในผ้าเช็ดทำความสะอาดได้มาก ขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่าเชื้อ Staphylococcus สามารถอยู่รอดได้ถึง 19-21 วันในผ้าเช็ดทำความสะอาดที่ทำจากผ้าฝ้าย

"พื้นฐานสำคัญสำหรับการลดการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพ คือ การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวต่างๆ เช่น ในห้องพักของผู้ป่วยและพื้นที่ต่างๆของโรงพยาบาล" David Koenig, Ph.D. หัวหน้าแผนกการวิจัยเชิงเทคนิคในการวิจัยภายในองค์กรและวิศวกรรม บริษัท คิมเบอร์ลี-คล๊าค กล่าว "วิธีการที่ดีที่สุดที่แนะนำให้ทางโรงพยาบาลปฏิบัติ คือ การใช้กระบวนการฆ่าเชื้อเพื่อทำความสะอาดผ้าเช็ดทำความสะอาดและผ้าไมโครไฟเบอร์ที่นำมาใช้งานซ้ำหรือเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งจะช่วยลดโอกาสของการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียไปสู่พื้นผิวที่ผู้ป่วยและพนักงานอาจสัมผัส"

Kimberly-Clark และธุรกิจสถานพยาบาล

Healthcare_011_S.jpg ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทั่วโลกหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อันหลากหลายของ Kimberly-Clark เพื่อช่วยสร้างสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ป่วยและพนักงาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจของการรักษาพยาบาล ผู้ให้บริการเลือกใช้ Kimberly-Clark ในการมอบบริการด้านสุขอนามัยและการทำความสะอาดรวมถึงข้อมูลทางการศึกษาวิจัยที่พวกเขาสามารถพึ่งพาได้ เพื่อป้องกัน วินิจฉัยและจัดการกับความหลากหลายของการติดเชื้อที่อาจเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาสุขภาพ ด้วยการพัฒนาและดูแลอย่างต่อเนื่อง
ทั้งผู้ป่วยและพนักงานต่างไว้วางใจในผลิตภัณฑ์ต่างๆของ Kimberly-Clark ไม่ว่าจะเป็นกระดาษทิชชูและกระดาษเช็ดมือ Kleenex, SCOTT, KIMSOFT ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ Kleenex และ Kimcare รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เช็ดทำความสะอาด WETTASK* และ WYPALL*

 

Source: Kimberly-Clark Corp. [KMB-B]

iCDC: http://www.cdc.gov/HAI/pdfs/hai/infections_deaths.pdf
ii AJIC study: Neely AN, Maley MP. Survival of enterococci and staphylococci on hospital fabrics and plastic. J Clin Microbiol 2000;38:724-6

 


1
[Go to top]



Copyright © 2010 All Rights Reserved.